Sunday, 31 October 2010

Nabe






ยามลมหนาวพัดโบกโบยโชยชื่น สายลมหนาวพัดสู่เมืองเชียงใหม่ในเช้าวันนี้ อากาศเย็นสบายวันนี้เลยคิดเมนูอาหารค่ำเพื่อสร้งความอบอุ่นให้แก่ร่างกายด้วยหม้อไฟญี่ปุ่น Nabe หน้าตาคล้ายกับสุกี้ยากี้ของไทย มีส่วนผสมดังนี้
๑ เนื้อไก่ ๕oo กรัม
๒ เห็ดเข็มทอง
๓ เห็ดหอม
๔ ต้นหอมญี่ปุ่น เนกิ
๕ เต้าหู้
๖ ผักกาดขาว
๗ เส้นอูด้ง
๘ สาหร่าย คมบุ
๙ โชยุ
๑o มิริน
๑๑ น้ำต้มสุก
วิธีทำ
นำแผ่นคมบุต้มในหม้อนาเบะ เติมโชยุ มิริน เมื่อนำเริ่มเดือด นำเนื้อไก่ลงต้มพอสุก ยกหม้อลงจากเตา
ตั้งไฟในเตาปิคนิค วางหม้อบนเตาเติมส่วนผสมทั้งหมดที่ได้กล่าวมาข้างต้นลงหม้อ ปิดฝาพอเดือดแล้วรับประทานพร้อมกับน้ำจิ้มนาเบะที่มีรสเปรี้ยว
เมนูนี้ทำให้ร่างกายอบอุ่นและได้สารอาหารครบถ้วน
นำส่วนผสม

แอ่วบ้านอาจารย์หน้อย




วันนี้ไปเยี่ยมอาจารย์หน้อยเพื่อขอความรู้เรื่องการถักปลอกสายรัดอกหวายแบบปลอกสาม ปลอกห้า และปลอกเจ็ด จะได้เก็บความรู้ไว้ใช้เวลาเปลี่ยนสายรัดอกสะล้อ นานแล้วที่ไม่ได้ไปเยี่ยมอาจารย์หน้อยน่าจะสักสี่ปีได้ อาจารย์หน้อยเหมือนเดิมมีอัธยาศัยที่ดีและนำสะล้อใหม่มาโชว์เป็นสะล้อที่ทำจากถ้วยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เลยต้องขอลองสีสะล้อคัพนูดเดิลกับซึงอาจารย์หน้อย เสียงสะล้อใส ชัดเจนดี เก็บภาพมาฝากครับ

Sunday, 24 October 2010

Hobby Hut Puppet Troupe 13th Anniversary @ Rachmankha Hotel











ร่วมเล่นดนตรีประกอบการแสดงหุ่นล้านนาร่วมสมัย ฉลองครบรอบปีที่ 13 บรรยายของงานเป็นไปอย่างอบอุ่น ด้วยบรรดามิตรสหาย แฟนคลับ และสื่อมวลชน งานนี้เป็นงานที่ได้จัดขึ้นหลังจากได้รับรางวัลเหรียญเงิน จากการร่วมแสดงในเทศกาลหุ่นนานาชาติ กรุงฮานอย ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

Sunday, 17 October 2010

My New Salor









ออกเดินทางแต่เช้าตรู่จากเชียงใหม่มุ่งสู่จังหวัดแพร่เพื่อไปพบช่างทำเครื่องดนตรีที่โรงงานเมืองแพร่ ก่อนเดินทางถึงแพร่แวะชมวัดไหล่หิน เพื่อเก็บภาพจิตรกรรมฝาผนังภาพพิณเปี๊ยะ ที่เชื่อว่าในอนาคตอาจจะถูกซ่อมแซมและเปลี่ยนแปลงเลยถ่ายรูปเก็บไว้ก่อน
จากนั้นมุ่งสู่จังหวัดแพร่ พบกับเจ้าของโรงงานคุณบอม เป็นเจ้าของกิจการโรงงานเครื่องดนตรีล้านนาวัยหนุ่มที่มีอนาคต คุณบอมแนะนำตัวและพาไปชมโรงงานทำเครื่องดนตรี มีไม้ชั้นดีสำหรับทำเครื่องดนตรีมากมายเช่น ไม้มะเกลือ ไม้ชิงชัน ไม้สัก ไม้นางพญางิ้วดำ เป็นต้น
หลังจากแนะนำตัวกันเป็นที่เรียบร้อยจึงลงมือเลือกไม้เพื่อทำสะล้อทันที ได้ไม้มะเกลือดที่มีสีดำ และน้ำหนักที่ดีจึงคิดรูปแบบโครงสร้างสะล้อเพื่อให้ช่างลงมือทำ สำหรับสะล้อตัวใหม่นี้อยากให้ช่างลองทำเทคนิคกบไสไม้ ซึ่งจะได้เห็นลายไม้เนื้อไม้อย่างชัดเจนผิดจากเทคนิคการกลึงไม้โดยทั่วไปที่ช่างนิยมทำ จึงต้องอธิบายกันก่อนลงมือ จากนั้นเมื่อตกลงรูปแบบตัวสะล้อเรียบร้อยแล้วจึงเริ่มลงมือคัดเลือกกะลา มีกะลาให้เลือกมากมาย
ใช้เวลาหนึ่งวันไปกับการเลือกสรร คัดสรร และสร้างสรรค์ สุดท้ายจึงได้สะล้อใหม่ออกมา (ยังไม่ถูกใจกะลา) อยากจะต้องปรับเปลี่ยนกะลาใหม่อีกครั้ง