Monday, 21 February 2011
วัฒนธรรมดนตรีในอนุภูมิภาค
ช่วงเข้าสู่ฤดูฝนเมืองพร้าวเต็มไปด้วยอาหารที่อุดมสมบูรณ์ เป็นช่วงที่แมลงเล็กๆ ต่างแสดงตนไม่ว่าจะเป็นแมงนูน แมงมัน แมงเม่าและอึ่งอ่างที่ออกมากินแมลง ซึ่งล้วนเป็นอาหารที่อุดมด้วยโปรตีนที่สำคัญของชาวล้านนา ส่วนผักยังมีผักที่น่าสนใจอยู่เต็มไปหมดเช่น ผักกูดก้อง ผักพ่อค้าตีเมีย ผักหวานที่หลงเหลือมาจากช่วงที่ร้อนที่สุดของเมืองเชียงใหม่ที่ผ่านมา เกษตรกรต่างเริ่มเกี่ยวข้าวนาปรัง และเตรียมเก็บมะม่วงต่อไป
Phooradok Nest
โครงการ Phooradok Nest สถานที่สร้างดนตรี ศิลปะการแสดง ณ เมืองพร้าว เมืองแห่งเกษตรกรรมและวัฒนธรรม บนเนื้อที่ 1 ไร่เศษ ที่รายล้อมด้วยธรรมชาติ ป่าไม้ที่เปลี่ยนสีตามฤดูกาลที่แปรเปลี่ยน สายน้ำที่ไหลลัดเลาะลำธารห้วยแม่ลาด เป็นสถานที่สร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ประพันธ์บทเพลงที่ไพเราะ และเป็นแหล่งเรียนรู้วิธีทางการใช้ชีวิตให้เป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติ
เมืองพร้าว เมืองที่มีประวัติศาสตร์ที่สำคัญของเมืองเชียงใหม่ในอดีต ปัจจุบันวิถีการใช้ชีวิตแบบเกษตรกรรมของประชากรส่วนใหญ่ร้อยละเก้าสิบ ทำให้เมืองพร้าวยังคงมีสถานที่สำคัญๆ ทางวัฒนธรรมและธรรมชาติให้ได้พบเห็นต่างจากหลายเมืองที่ตอบสนองด้านการท่องเที่ยวเท่านั้น
โครงการระยะยาวไม่มีกำหนด เมื่อสำเร็จจะแจ้งให้ทราบต่อไปนะครับ ชมรูป และความเพ้อฝัน ของผมไปก่อน มีคำกล่าวว่า "หากมนุษย์เราไร้ซึ่งความเชื่อ ความฝันและจินตนาการ การใช้ชีวิตที่มีอยู่ในทุกๆ วัน ก็ไร้ความหมาย" จำไม่ได้แล้วว่าใครพูด แต่ผมคิดว่าน่าจะจริงนะครับ
Sunday, 20 February 2011
พบศาสตราจารย์ระพี สาคริก
ยามบ่ายของวันอาทิตย์ช่วงปลายหนาว แต้มโทรมาเรียกบอกว่าซื้อสะล้อใหม่ให้พ่อระพี เข้ามาพบแต้มที่เจเจมาเก็ต ได้พบกับท่าน ศ. ระพี สาคริก กับสะล้อไม้เกร็ดแดงฝีมือช่างบุญรัตน์ ศ. ระพีเป็นบุคคลที่ทรงความสามารถเข้าใจในหลักวิทยาศาสตร์และหลักธรรมชาติ ยิ่งไปกว่านั้นศ. ระพีได้เรียนรู้ดนตรีอย่างถ่องแท้ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีจากตะวันตก หรือเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องสี
ได้คุยแลกเปลี่ยนแนวคิดทางดนตรีและปรัชญากับท่าน ศ. ระพี เป็นระยะเวลาพอสมควร ในช่วงสั้นๆ ที่ได้คุยกับท่านรับรู้ถึงความสามารถความรู้และการใช้ชีวิตของท่าน ศ. ระพี สาคริก
Subscribe to:
Posts (Atom)