Friday, 19 February 2010

series “EXISTENCE” vol.48 - Resonance Beauty 4 -









I went to see a contemporary concert tonight. Electro-koto played by Reiko Imanishi with Shinichi Isohata(Guitar) and Yangjah(Performer).
การแสดงดนตรีร่วมสมัยและการแสดงเต้นร่วมสมัยในค่ำคืนแห่งความหนาวเย็น ได้รับการตอบรับจากผู้ที่สนใจเป็นอย่างมากทั้งชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น การแสดงแบ่งออกเป็นสองภาค ภาคแรกเป็นการบรรเลงดนตรีระหว่างนักโกโต อิมานิชิ เรโกะหนึ่งในสมาชิกวง Nippon Girl และนักกีตาร์ฝีมือจัดจ้านชินิจิ อิโซฮาตา ที่สร้างเสียงดนตรีอันสุดแสนพิศวง โดยเพิ่มอุปกรณ์อิเลคทรอนิคเพื่อแปลงเสียงทั้งเสียงของกีตาร์และโกโตะ เทคนิคการบรรเลงที่สร้างเสียงใหม่ๆ เช่น เสียงน้ำกระทบกับโขดหิน บทเพลงที่มีการเทียบเสียงสายฝน เป็นต้น สถานที่ Chef d'oeuvre อาจจะดูคับแคบ แต่ก็เหมาะสมกับลักษณะงานที่แสดงวันนี้ดี ในภาคที่สองเป็นการแสดงโดยหยางฉา มาในสุดสีม่วง การถ่ายเทน้ำหนักในการเต้นเป็นไปตามธรรมชาติ ในบางครั้งการบิดตัวทำได้อย่างงดงามในทุกอริยบท ประทับใจในการแสดงวันนี้มากครับ

Friday, 12 February 2010

Kubota











โอกาสดีที่ได้เยี่ยมชมโรงงานผลิตเครื่องจักรเพื่อการเกษตรของญี่ปุ่น Kubota ในเขตเมือง Sakai โอซากา โรงงานมีพื้นที่ขนาดใหญ่ ผลิตเครื่องมือเครื่องจักรทางการเกษตรมานานเริ่มตั้งแต่ปี คศ 1960 เครื่องมือเครื่องใช้รวมทั้งรถแทรกเตอร์ส่งออกไปยังต่างประเทศและในประเทศญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก
สำหรับประเทศไทยเองก็นำเข้าเครื่องจักรทางการเกษตร และมีโรงงานผลิตเครื่องจักรเอง ไม่แน่ใจว่าเครื่องมือทางการเกษตรแบบอุตสาหกรรมการเกษตรขนาดใหญ่แบบนี้จะเหมาะสมกับสังคมเกษตรกรรมของไทยหรือไม่อย่างไร รถแทรกเตอร์รุ่นใหม่ที่ผลิตได้ชั่วโมงละหนึ่งคัน ราคาประมาณสามล้านบาท ยังไม่รวมภาษีนำเข้า เกษตรกรไทยซื้อมาใช้เมื่อไหร่จะผ่อนรถแทรกเตอร์หมด สิบปี ยี่สิบปี สามสิบปี ? นี่ยังไม่รวมค่าบำรุงดูแล และน้ำมันต้นทุนอีก ไม่รู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี่ใช้รถแทรกเตอร์ได้ไหม ? ลองคิดเล่นๆ ว่าเราน่าจะใช้ควายไถนา อาจารย์ที่ไปดูงานด้วยกันบอกว่ารัฐบาลเคยทำโครงการให้วัว ควาย แก่เกษตรกร แต่โครงการมีการโกงกันเกิดขึ้นเลยไม่สำเร็จ สรุปแล้วประเทศไทยควรจะซื้อเครื่องจักรทางการเกษตรไหมเนี๊ยะ ?
โรงงานมีสายงานการผลิตที่เป็นระบบดีมาก ครั้งแรกที่นักดนตรีได้มีโอกาสดูโรงงาน ทุกอย่างดูเป็นระบบ ระเบียบที่ต้องการความถูกต้องและแม่นยำ ตัดเรื่องของอารมย์และจิตวิญญาณออกไปได้เลย
สังคมแบบอุตสาหกรรมหลังสงครามโลกครั้งที่สองของประเทศญี่ปุ่นทำให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นเจริญก้าวหน้าจากค่า GDP ประเทศไทยคงได้แต่นำเข้าเครื่องจักร และเป็นผู้ใช้เครื่องมือนั้น เพื่อการเกษตรแบบพอเพียงที่ไม่เคยเพียงพอ